บทความ

สำรวจ มาตรฐานเครื่องครัว ใช้งานปลอดภัย ถูกหลักตาม มอก.

เครื่องครัว

มอก. หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นข้อกำหนดแนวทางให้กับผู้ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ และปลอดภัย โดยมาตรฐานมอก.ครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์ทำอาหาร เป็นต้น

สำหรับอุปกรณ์ทำอาหาร ที่ต้องสัมผัสกับความร้อน และอาหารโดยตรง จำเป็นต้องได้รับรองสินค้าจากสมอ. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ออกใบอนุญาตมอก. เพื่อยืนยันว่าอุปกรณ์นั้น มีขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ หากอุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการควบคุม หรือมาตรฐานที่กำหนด อาจเป็นไปได้ว่า อุปกรณ์เครื่องครัวเหล่านั้น มีสารปนเปื้อน อย่าง สารโลหะหนัก หรือสารปนเปื้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน บทความนี้ DKW ขอแนะนำวิธีสำรวจอุปกรณ์สำหรับทำครัว ที่ได้มาตรฐานตามหลักมอก. ถ้าพร้อมกันแล้ว ตามมาดูกันได้เลย

เช็กสินค้า หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : Line @dkwofficial

5 เทคนิคจัดห้องครัวขนาดเล็ก ให้สวยพร้อมฟังก์ชันเครื่องครัว ที่ครบครัน

ห้องครัว ถือเป็นพื้นที่สำคัญของบ้าน เพราะเป็นห้องสำหรับประกอบอาหาร เพื่อดำรงชีพ และเป็นห้องรับประทานอาหารของแต่ละบ้าน จึงทำให้พ่อบ้าน และแม่บ้านในหลายครัวเรือนให้ความใส่ใจในการออกแบบ รวมไปถึงพิถีพิถันในการเลือกอุปกรณ์ทำอาหาร

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกบ้านจะมีห้องครัวขนาดใหญ่ โดยในวันนี้ DKW ขอเสนอไอเดียจัดห้องครัวเล็ก ๆ ให้สวย พร้อมฟังก์ชันเครื่องทำครัวที่ครบครัน เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่มีพื้นที่จำกัด  ซึ่งสามารถทำตามได้ ดังนี้

  • วางผังเป็นรูปตัว L

การจัดผังห้องครัว ควรจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ตั้งแต่การวางภาชนะ อุปกรณ์ทำครัว และเครื่องใช้ไฟฟ้า แนะนำให้จัดครัวเป็นรูปตัว L โดยให้อุปกรณ์เข้าชิดผนัง จะช่วยประหยัดพื้นที่ได้มาก ทั้งนี้ ตำแหน่งที่จัดเรียงสิ่งของต่าง ๆ สามารถปรับได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ความถี่ในการใช้งาน หรือความถนัดของผู้ใช้งาน เพื่อให้ใช้งานได้สะดวก และเคลื่อนไหวได้ง่ายเมื่อต้องจัดเตรียมข้าวของ

  • ชั้นวางของ

การนำชั้นวางของอเนกประสงค์มาใช้ภายในห้องครัว ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เนื่องจาก พื้นที่ห้องครัวที่มีจำกัด เราสามารถจัดเก็บอุปกรณ์ทำอาหาร ภาชนะ และเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้มีระเบียบ และสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้อย่างชัดเจน ทำให้เมื่อเวลาต้องการใช้งาน ก็หยิบจับได้สะดวก

  • เฟอร์นิเจอร์หลายฟังก์ชัน

การเลือกเฟอร์นิเจอร์หลายฟังก์ชัน จะช่วยประหยัดพื้นที่ภายในครัวได้ เช่น เคาน์เตอร์บาร์ สามารถใช้เป็นทั้งพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร และโต๊ะกินข้าวได้ในเวลาเดียวกัน หรือการเลือกเคาร์เตอร์บาร์แบบมีตู้ปิด พร้อมกับเพิ่มลิ้นชักภายในตู้ สำหรับเก็บอุปกรณ์เครื่องทำครัว เพื่อแบ่งหมวดหมู่ได้อย่างชัดเจน และใช้พื้นที่ในห้องครัวได้อย่างคุ้มค่า

  • โทนสีห้องครัว

อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยเปลี่ยนห้องครัวขนาดเล็กให้ดูโปร่งโล่ง คือ การเลือกของผนังสีโทนอ่อน เช่น สีขาว สีครีม สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อน จะช่วยให้บรรยากาศภายในห้องครัวดูไม่อึดอัดจนเกินไป ทั้งนี้ หากเลือกใช้สีโทนเข้ม อาจทำให้ห้องครัวดูคับแคบ และไม่น่าเข้าใช้งาน

  • เลือกเฟอร์นิเจอร์กระจก

การเปลี่ยนอุปกรณ์สำหรับทำอาหาร หรือสิ่งของต่าง ๆ เป็นกระจก ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะกินข้าว หรือตู้เก็บของ เนื่องจาก กระจกเป็นวัสดุโปร่งใส จึงช่วยเสริมให้ภาพรวมของห้องดูกว้างขวาง อีกทั้งยังเพิ่มความสวยงามให้กับห้องครัวของคุณได้อย่างลงตัว

เช็กมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องครัว ไร้สารปนเปื้อนระหว่างทำอาหาร

เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมอก. สำหรับอุปกรณ์เครื่องครัว รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร โดยใช้สัญลักษณ์มอก.มาตรฐานทั่วไป เพื่อรองรับคุณภาพการผลิต ซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจได้ 

ทั้งนี้ ผู้บริโภคที่ต้องการตรวจสอบอุปกรณ์ทำครัวที่บ้าน หรือหากกำลังมองหาอุปกรณ์ใหม่มาเข้าห้องครัวอยู่นั้น สามารถตรวจเช็กอุปกรณ์ทำอาหารเหล่านี้ โดยแยกเป็น 3 วัสดุ ดังนี้

  1. โลหะ

มอก. ครอบคลุมเฉพาะภาชนะโลหะ เช่น สเตนเลส เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง และทองเหลืองที่ใช้ประกอบความร้อน และเคลือบด้วยสารฟลูออโรพอลิเมอร์ (Fluoropolymer) ยกเว้นภาชนะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งอุปกรณ์ทำอาหารจากโลหะ ต้องมีการแสดงข้อมูลในฉลาก ได้แก่

  • ชื่อผลิตภัณฑ์
  • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
  • วัสดุที่ใช้เคลือบ
  • วิธีใช้ และข้อควรระวัง
  • บอกขนาด หรือ ความจุ
  • อุณหภูมิใช้งานสูงสุด
  • วัน เดือน ปี การผลิต หรือรหัสรุ่น
  1. พลาสติก

มอก. ครอบคลุมภาชนะ และอุปกรณ์ทำครัวที่ทำจากพลาสติกที่สัมผัสกับอาหาร เพื่อสำหรับใช้เตรียม เก็บ หรือบริโภค ซึ่งพลาสติกที่อยู่ในการควบคุม เช่น พอลิเอทิลีน (PE) พอลิโพรพิลีน (PP) พอลิสไตรีน(PS) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PVAL) และพอลิเมทิลเพนทีน (PMP) โดยรายละเอียดที่ต้องแสดงในฉลาก ได้แก่

  • ชื่อผลิตภัณฑ์
  • เดือน ปี และรหัสรุ่นที่ผลิต 
  • ข้อมูลผู้ผลิต
  • ประเภทวัสดุที่ใช้ทำ
  • ขนาด และความจุ
  • จำนวน
  • อุณหภูมิใช้งาน
  • ข้อความแสดง “ใช้ครั้งเดียว” กรณีใช้แบบครั้งเดียว
  • ข้อความแสดงคำเตือนที่จำเป็น
  1. เมลามีน

ในปัจจุบันภาชนะที่ทำจากเมลามีนต้องมีสัญลักษณ์มอก. รองรับ เนื่องจาก เมลามีนจะปล่อยสาร Formaldehyde ออกมาเป็นจำนวนมาก หากโดนความร้อนสูงเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ ดังนั้น ควรแสดงรายละเอียดที่จำเป็นในมอก. เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้แก่

  • ชื่อผลิตภัณฑ์
  • ข้อมูลผู้ผลิต
  • ประเภทวัสดุที่ใช้ทำ
  • จำนวน
  • ขนาด
  • ข้อความแสดงถึงคำเตือนที่จำเป็น
  • เดือน ปี และรหัสรุ่นที่ผลิต
  • ประเทศที่ผลิต (หากนำเข้า)

ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าเมื่อเลือกซื้อภาชนะ หรือเครื่องทำครัวที่ทำจากวัสดุเหล่านี้ ควรดูฉลาก ข้อแนะนำ และเครื่องหมายมอก. ให้ละเอียดทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า ได้รับอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานตามหลักสากล และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน

สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องครัวที่มีคุณภาพ ขอแนะนำแบรนด์ DKW เป็นผู้ผลิตสินค้า และจัดจำหน่ายสินค้าในครัวเรือนหลายประเภท ที่ผลิตจากพลาสติกเกรดพรีเมียม แข็งแรงทนทาน และถูกหลักตามมาตรฐานสากล หากสนใจสามารถสั่งซื้อได้โดยตรงที่เว็บไซต์ DKW และที่ Shopee, Lazada หรือเลือกซื้อด้วยตัวเองที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ

#DKWRE. รักษ์โลกช้อป DKW 𝑹𝒆𝒅𝒖𝒄𝒆 เม็ดพลาสติกใหม่ 𝑹𝒆𝒄𝒚𝒄𝒍𝒆 พลาสติกเก่า 𝑹𝒆𝒖𝒔𝒆 สินค้ามาใช้ประโยชน์อื่นๆ

“The synergy of function and design” – DKW

DKW แบรนด์สินค้าส่งออกทั่วโลก ดีไซน์เรียบง่ายแต่มีเอกลักษณ์ คุณภาพดีเกินราคา 

มีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ, บุญถาวร, The Mall ทั่วประเทศ

Line Official: @dkwofficial

Website: dkwthailand.com

Facebook: DKW Lifestyle For Home

Instagram: DKW_Lifestyle

TikTok: @dkw.official 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง