บทความ, เคล็ดลับแต่งห้อง

How To เลือกอุปกรณ์เครื่องครัว ให้ปลอดภัย ไร้โลหะหนักปนเปื้อน

เครื่องครัว

การเลือกอุปกรณ์เครื่องครัวให้ถูกใจ อาจเป็นเรื่องที่ใครหลายคนประสบปัญหาอยู่ เนื่องจาก อุปกรณ์ครัวที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดนั้น มีรูปแบบและยี่ห้อที่หลากหลาย ซึ่งการเลือกอุปกรณ์ใช้ภายในครัว ไม่เพียงแต่เน้นเลือกจากความสวยงาม หรือดีไซน์ได้เพียงเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย จึงควรเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งาน อีกทั้งต้องได้รองรับมาตรฐานจากอีกด้วย

ทั้งนี้ สำหรับอุปกรณ์ครัว ไม่ว่าจะทำมาจากวัสดุสเตนเลส พลาสติก และเมลามีน หากซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ที่ไม่ได้มีการรองรับมาตรฐาน อาจเสี่ยงทำให้ร่างกายของเราได้รับสารพิษปนเปื้อน เช่น สารตะกั่ว สารปรอท และโครเมียม เป็นต้น ดังนั้น ในบทความนี้ DKW ขอพาทุกคนมารู้จักกับสารปนเปื้อนในอุปกรณ์ครัว และวิธีเลือกให้ปลอดภัย ไร้โลหะหนักปนเปื้อน และตอบโจทย์การใช้งาน ตามมาดูกันได้เลย

ข้อควรระวัง สารพิษที่เป็นอันตรายในเครื่องครัวที่คุณอาจไม่รู้

ในปัจจุบันของทุกอย่างรอบตัว ไม่ว่าจะเป็น วัสดุตกแต่งบ้าน และข้าวของเครื่องใช้ ส่วนใหญ่มักเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ ก็มีผลกระทบต่อร่างกายของเราเช่นกัน โดยเฉพาะห้องครัว เพราะนอกจากวัตถุดิบ หรืออาหารที่เรารับประทาน ก็อาจมีสารปนเปื้อนอยู่แล้ว อีกทั้งอุปกรณ์ครัวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มักมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ด้วย เช่น สารเคลือบป้องกันเกาะติดหม้อ และกระทะ หรือน้ำยาป้องกันคราบสกปรก

อย่างไรก็ตาม สารเคมีเหล่านี้ไม่ได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากนัก หากอุปกรณ์ครัว และบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ได้การรับรองมาตรฐาน แต่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2567 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ตรวจพบอุปกรณ์ครัวที่ไม่มีคุณภาพ และไม่ได้มาตรฐานในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ได้แก่ หม้อ กระทะ ตะหลิว ช้อน และปิ่นโต เป็นต้น ซึ่งอาจมีปริมาณโลหะหนักเกินกว่ากำหนด

สำหรับโลหะหนัก คือ ธาตุที่มีค่าถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป ซึ่งโลหะหนักบางชนิดก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่บางชนิดก็เป็นพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะปรอท และแคดเมียม ที่ถูกจัดเป็นสารพิษต่อร่างกาย และถูกจัดขึ้นเป็นบัญชีดำ (Blacklist) เนื่องจาก มีพิษร้ายแรงต่อมนุษย์  

ทั้งนี้ โลหะหนักเป็นสารที่เราสามารถรับมาได้ง่าย แต่ถูกขับออกได้ยาก ซึ่งหากมีการบริโภคอาหาร และน้ำที่ปนเปื้อนเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมของสารเคมี จนเกิดอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้น DKW ขอแชร์ข้อควรระวังวัสดุอุปกรณ์ครัวใกล้ตัว ที่อาจมีสารโลหะหนักเจือปน ดังนี้

  • อะลูมิเนียม

อะลูมิเนียม ถูกใช้เป็นอุปกรณ์ครัวประเภทหม้อ กระทะ รวมไปถึงเตาหมูกระทะ ซึ่งหากโดนความร้อนสูง มักเกิดการหลุดล่อนของโลหะหนัก อย่าง สารหนู สังกะสี โครเมียม และอะลูมิเนียม อีกทั้งหากมีการทำความสะอาดที่รุนแรงจากการถูกขัดด้วยฟอยด์ จนเห็นผิวเคลือบหลุด สารพิษจะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายเราได้ 

สำหรับในยุคปัจจุบันกระทะ และหม้อ ส่วนใหญ่มีการเคลือบเทฟลอน ซึ่งสารพิษที่ได้รับ อาจไม่ได้เป็นอันตรายกับมนุษย์มากนัก แต่ผลิตภัณฑ์บางชนิด อาจมีสารเปอร์ฟลูออริเนต (PFCs) ที่มีผลต่อการทำงานของไทรอยด์ และมีผลต่อภาวะการเจริญพันธุ์ของทั้งชายหญิง ดังนั้น หากสังเกตว่าหม้อ หรือกระทะมีสารเคลือบหลุดล่อนแล้ว ก็ควรเปลี่ยนทันที

  • พลาสติก

พลาสติก เป็นวัสดุนิยมใช้ทำเป็นภาชนะ ไม่ว่าจะเป็น จาน หรือถ้วย เนื่องจาก เป็นวัสดุแตกที่หักได้ยาก อีกทั้งมีสีสันต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย แต่รู้หรือไม่ สีที่ใช้เคลือบมีสารของโลหะหนักประกอบนั้น ได้จากการใช้สารเมลามีน ซึ่งเมื่อสารเหล่านี้ถูกนำมาใช้ทำอุปกรณ์ครัว หรือบรรจุภัณฑ์ จึงมีโอกาสที่สารตกค้างปนเปื้อนไปกับอาหาร 

อีกทั้งเมื่อพลาสติกที่ไม่ได้มาตรฐานเกิดการละลาย ก็ทำให้เกิดสารเคมีสะสม อย่าง สาร Bisphenol A (BPA) ไว้ในร่างกาย โดยส่งผลเสียในเรื่องการเผาผลาญของร่างกาย และความผิดปกติของฮอร์โมน

ทั้งนี้ สำหรับแนวทางแก้ไขเบื้องต้น คือ การหลีกเลี่ยงใช้บรรจุภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ครัวพลาสติกนำไปใส่ของอุ่นร้อน เพื่อแก้ไขปัญหาเครื่องครัวปล่อยสารเป็นพิษออกมา ซึ่งสามารถใช้วัสดุประเภทอื่นแทนพลาสติก เช่น แก้ว เซรามิก หรือวัสดุจากธรรมชาติ เป็นต้น

  • สเตนเลส

สเตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิม เป็นโลหะที่ผสมกันระหว่างเหล็ก คาร์บอน และโครเมียม โดยถูกนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ครัว หรือภาชนะต่าง ๆ เช่น หม้อ ตะหลิว ช้อน โดยวัสดุสเตนเลสมักมีโลหะหนักแฝงในอุปกรณ์ อย่าง โครเมียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ แต่ก็เป็นโลหะหนักที่เป็นพิษต่างร่างกายด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้ หากมีการบริโภคเกิดกว่าที่กำหนด ก็อาจเป็นสารพิษตกค้างในร่างกาย เพราะฉะนั้น ควรเลือกเกรดของสเตนเลส เช่น สเตนเลส 304 และ สเตนเลส 316 ที่เป็นมิตรคน และสิ่งแวดล้อม

จากที่กล่าวข้างต้น สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการภาชนะที่เสี่ยงโลหะหนัก ก็ควรเลือกใช้อุปกรณ์ครัว และบรรจุภัณฑ์ที่มีการผลิตที่ถูกต้อง และมีมาตรฐาน อีกทั้งหากพบว่าอุปกรณ์ชำรุด หรือสึกกร่อน ควรมีการเปลี่ยนใหม่โดยเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เคล็ดลับ การเลือกอุปกรณ์เครื่องครัว ให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

การเลือกซื้อชุดเครื่องครัวที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้เกิดปัญหาเมื่อเรารับประทานอาหาร โดยอุปกรณ์เหล่านี้อาจชำรุด หรือแตกหัก หลังจากใช้งานเพียงไม่กี่ครั้ง ดังนั้น สำหรับมือใหม่ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ครัว ทาง DKW ขอเผยเคล็ดลับการเลือกอุปกรณ์ครัว ให้ตอบโจทย์การใช้งาน และปลอดภัยต่อสุขภาพ ดังนี้

  • อ่านฉลาก

ขั้นตอนแรกก่อนซื้อสินค้าทุกชนิด ควรมีการอ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อให้ทราบถึงวัสดุ วันที่ผลิต แหล่งที่มา และการรับรองมาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ครัวนั้นมีมาตรฐาน อีกทั้งในฉลากต้องแสดงถึงคำเตือน และตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ ว่ามีสารพิษอันตรายในผลิตภัณฑ์หรือไม่ 

  • อายุการใช้งาน

การเลือกซื้ออุปกรณ์ครัว ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อสามารถรองรับการทำอาหารได้ทุกประเภท เพราะในแต่ละวัสดุของผลิตภัณฑ์นำความร้อน และมีความทนทานที่แตกต่างกัน เช่น อุปกรณ์ที่ทำจากวัสดุสเตนเลส อาจมีความทนทาน และใช้งานได้ยาวนาน แต่ในเรื่องการนำความร้อน ก็อาจไม่ดีเท่าวัสดุทองเหลือง จึงต้องคำนึงถึงแนวทางการใช้งาน เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ครัว

  • ปฏิกิริยากับอาหาร

สำหรับเรื่องปฏิกิริยาของอาหาร เป็นเรื่องที่สำคัญในการประกอบการตัดสินใจ เพราะแต่ละวัสดุก็มีความทนทาน หรือวิธีทำความสะอาดที่แตกต่างกัน รวมถึงวัสดุบางอย่างที่นำมาทำอุปกรณ์ครัว อาจปล่อยสารโลหะหนัก หรือสารเคมีต่าง ๆ ปนเปื้อนมากับอาหาร เช่น พลาสติกที่ไม่สามารถทนต่อความร้อนสูงได้ วัสดุจากกระดาษ หรือโฟม ที่เมื่อโดนความร้อนจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาปนเปื้อนอาหาร

  • ความคุ้มค่า

เคล็ดลับสุดท้ายที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ ว่ามีความสำคัญไม่แพ้ข้ออื่น นั่นก็คือเรื่องของราคา เนื่องจาก ราคาถือได้ว่าเป็นปัจจัยแรก ๆ ที่ผู้คนโดยส่วนใหญ่นำมาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อเลือกซื้ออุปกรณ์ครัว โดยบางคนอาจมีงบประมาณที่จำกัด จึงมักมองหาอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพง 

ทั้งนี้ สามารถเลือกอุปกรณ์ครัวที่มีคุณภาพจากชื่อแบรนด์ แต่หากต้องการอุปกรณ์ที่ใช้งานยาวนาน และปลอดภัย ก็ควรเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ และมีราคาที่สูง หรืออาจดูว่ามีเครื่องหมายรับรองว่าสินค้านั้น ๆ ได้มาตรฐานหรือไม่

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเคล็ดลับ เลือกอุปกรณ์เครื่องครัวให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยอุปกรณ์ครัวที่ใช้ประกอบอาหาร ไม่ว่าวัสดุไหนก็มีให้เลือกหลากหลายเกรด และคุณภาพ ดังนั้น ควรเลือกเครื่องครัวที่มีคุณภาพดีตามการใช้งาน และควรคำนึกถึงความแข็งแรง ทนทาน รวมไปถึงการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง

ทั้งนี้ ใครที่กำลังสนใจซื้อเครื่องครัว ที่มีคุณภาพ ก็ขอแนะนำสินค้าจากทาง DKW ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกที่มีคุณภาพ แข็งแรงทนทาน ดีไซน์สวย มีหลากหลายสไตล์ให้เลือกสรร

#DKWRE. รักษ์โลกช้อป DKW 𝑹𝒆𝒅𝒖𝒄𝒆 เม็ดพลาสติกใหม่ 𝑹𝒆𝒄𝒚𝒄𝒍𝒆 พลาสติกเก่า 𝑹𝒆𝒖𝒔𝒆 สินค้ามาใช้ประโยชน์อื่นๆ

“The synergy of function and design” – DKW

DKW แบรนด์สินค้าส่งออกทั่วโลก ดีไซน์เรียบง่ายแต่มีเอกลักษณ์ คุณภาพดีเกินราคา 

มีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ, บุญถาวร, The Mall ทั่วประเทศ

Line Official: @dkwofficial

Website: dkwthailand.com

Facebook: DKW Lifestyle For Home

Instagram: DKW_LifestyleTikTok: @dkw.official

เรื่องที่เกี่ยวข้อง