เคล็ดลับแต่งห้อง

How To ลดขยะง่าย ๆ เริ่มต้นได้ในครัวด้วยถังขยะ DKW

ถังขยะ

“ขยะอาหาร” หรือ Food Waste หนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก เกิดจากขยะอาหารที่เหลือทิ้งจากการบริโภค และการจัดการภายในร้านอาหารที่ถูกสะสมจนกลายเป็นขยะจำนวนมาก โดยจากผลสำรวจพบว่าคนไทยหนึ่งคนสร้างขยะอาหารมากถึง 146 กิโลกรัมต่อปี ในปัจจุบันมีปริมาณขยะอาหารเกิดขึ้นประมาณ 9.7 ล้านตันต่อปี 

ซึ่งขยะอาหารเหล่านี้จะถูกฝังกลบในระหว่างกระบวนการย่อยสลาย จะผลิตก๊าซมีเทนหนึ่งในสาเหตุของภาวะเรือนกระจก ทำให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงมากขึ้น สำหรับบทความในวันนี้ DKW อยากชวนทุกคนมาร่วมแก้ปัญหาขยะอาหารด้วยถังขยะ ซึ่งเราทุกคนในฐานะผู้บริโภคจะช่วยลดปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

วิธีลดปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) เริ่มได้จากเราทุกคน

เนื่องจาก Food Waste คือหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าอุตสาหกรรมการบิน อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหานี้ได้ไม่ยาก เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหันมาใส่ใจกันสักนิดตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกซื้อ การจัดเก็บรักษา การทำอาหาร ไปจนถึงการแยกขยะก่อนทิ้งลงถังขยะ จะช่วยลดปริมาณขยะอาหารในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี ซึ่ง DKW ได้รวบรวมวิธีการลดปริมาณขยะอาหารมาให้แล้ว ดังนี้

  • วางแผนการจ่ายตลาดก่อนเลือกซื้อวัตถุดิบ

ก่อนคิดจะซื้ออาหาร หรือวัตถุดิบต่าง ๆ ควรวางแผนเมนูอาหารที่จะทำในแต่ละสัปดาห์ ทำการเช็กวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีอยู่แล้ว จากนั้นจดรายการพร้อมปริมาณที่ต้องซื้อเพิ่มเอาไว้ โดยควรซื้อเฉพาะแค่รายการที่ต้องการ เพื่อลดการซื้อของเกินความจำเป็น ลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งจากการบริโภค และอาหารที่หมดอายุ

  • จัดเก็บวัตถุดิบด้วยการถนอมอาหารอย่างถูกวิธี

อาหารแต่ละประเภทหากทำการจัดเก็บอย่างถูกวิธี จะช่วยยืดอายุอาหารก่อนจะกลายเป็นขยะได้นานขึ้น โดยการทำความสะอาด หรือตัดแต่งวัตถุดิบต่าง ๆ จากนั้นจัดเก็บใส่กล่อง หรือถุงซิปล็อก พร้อมเขียนวันที่ซื้อมา เพื่อเป็นการเตือนความจำว่าต้องรีบทานอะไรก่อน โดยเฉพาะของสดที่ต้องแช่ตู้เย็น หรือช่องแช่แข็ง (Freeze) ที่เหมาะสมกับวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น

  1. เนื้อสัตว์ หรืออาหารทะเล ควรตัดแต่ง และแยกเก็บในภาชนะสะอาด เช่น กล่อง หรือถุงซิปล็อก และช่องแช่แข็ง
  2. นม โยเกิร์ต กะทิ ควรเก็บไว้ชั้นบนสุดใต้ช่องแช่แข็ง ด้วยอุณหภูมิที่เย็นจัดจะเหมาะกับอาหารที่เสียง่าย
  3. ไข่ เนย ซอส ไม่ต้องใช้ความเย็นมากนัก ควรจัดเก็บใส่ตะกร้า หรือกล่องให้เป็นสัดส่วน และเก็บไว้ที่ตู้เย็นฝั่งบานประตูได้
  4. ผัก ผลไม้ ควรนำใส่ถุงและเจาะรู เพื่อให้อากาศถ่ายเท หรือเก็บในช่องแช่ผัก จะช่วยรักษาความสดใหม่ได้ดี
  5. ถั่ว ธัญพืชต่าง ๆ ควรนำไปตากให้แห้งสนิท จากนั้นเก็บในภาชนะที่สะอาด ไม่อับชื้น
  6. กระเทียม หอมแดง แนะนำให้แขวนไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
  7. อาหารแห้ง ควรเก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด และแบ่งการเก็บให้เป็นสัดส่วน ไม่ควรวางซ้อนกัน เพื่อป้องกันแมลง
  • จัดระเบียบตู้เย็นให้สะอาด

การจัดระเบียบตู้เย็น ถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดปัญหา Food Waste ได้ เพียงนำของที่ซื้อใหม่ใส่ไว้ด้านในสุด เพื่อป้องกันการลืมอาหารเก่าที่เก็บไว้นานจนเสีย ซึ่งนอกจากช่วยลดการทิ้งขยะอาหารแล้ว ยังทำให้หยิบอาหารสะดวกขึ้น และมองเห็นของเป็นสัดส่วนชัดเจน อีกทั้งตู้เย็นยังกระจายความเย็นได้ทั่วถึงจึงสามารถยืดอายุอาหารให้เสียช้าลงได้

นอกจากนี้ ควรหมั่นทำความสะอาดตู้เย็นเป็นประจำ โดยใช้น้ำเปล่าผสมเบกกิงโซดานำมาเช็ดชั้นวางแต่ละชั้น จากนั้นเช็ดตามด้วยน้ำเปล่า เพื่อลดการสะสมของคราบสกปรก และลดกลิ่นอับจากอาหารได้

  • เช็กฉลากวันหมดอายุ

อาหารบางประเภทได้ระบุวันหมดอายุบนฉลาก หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยจัดเก็บอาหารให้ดีขึ้น ซึ่งหากเข้าใจวิธีการเก็บรักษาจากคำแนะนำบนฉลาก จะช่วยยืดอายุของอาหารให้นานขึ้น โดยตัวย่อบนฉลากอาหารที่ควรรู้ มีดังนี้

  1. MFG/MFD (Manufactured Date) คือ วันที่ผลิตอาหาร 
  2. MFD (Expiration Date), EXP (Expiry Date) คือ วันหมดอายุ ไม่สามารถทานได้หลังจากวันที่ระบุไว้ เพราะอาหารอาจเน่าเสีย
  3. BB (Best Before), BBE (Best before End) คือ ควรบริโภคก่อนวันที่ระบุ ถึงแม้ว่าจะเลยวันที่กำหนดแล้ว ยังสามารถทานต่อได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่คุณค่าทางโภชนาการอาจลดลง
  • คำนวณปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนผู้บริโภค

การทำอาหารทานเองช่วยลดปริมาณขยะอาหารได้ หากมีการคำนวณสัดส่วน ปริมาณอาหารที่พอเหมาะกับจำนวนคนทาน เพื่อลดปริมาณขยะอาหารที่อาจเกิดขึ้นหลังทำอาหาร ทั้งยังช่วยลดปริมาณอาหารเหลือที่จะกลายเป็นขยะอาหารในอนาคต

  • นำผักไปปลูกใหม่ หรือนำไปเลี้ยงสัตว์

ผักบางชนิดหลังจากประกอบอาหารแล้ว อาจเลือกบางชิ้นส่วนที่สามารถนำกลับไปปลูกใหม่ได้ ซึ่งนอกจากช่วยลดปริมาณขยะอาหารแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนในการซื้อครั้งถัดไปได้ด้วย

ในส่วนของอาหารที่เหลือจากการรับประทาน แต่ยังไม่เน่าเสีย เช่น เศษผักผลไม้ หรือเปลือกไข่ นำไปบดให้ละเอียดสามารถใช้เลี้ยงเป็ด หรือไก่ได้ แต่หากเป็นเศษขนมปังสามารถนำไปเป็นอาหารปลาได้ ถือเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้

  • นำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น

หากเป็นกากชา กากกาแฟ สามารถนำไปใช้ดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในห้องครัวได้ ทั้งยังนำกากกาแฟมาเช็ดคราบมันที่ภาชนะก่อนนำไปล้างจานได้ หากเป็นน้ำซาวข้าวนำไปใช้ล้างสารพิษในผักผลไม้ หรือจะนำไปรดน้ำต้นไม้จะช่วยเพิ่มสารอาหารในดินได้

แยกขยะ ด้วยถังขยะแยกประเภทจาก DKW ดีต่อใจ ดีต่อโลก

นอกจากการลดขยะอาหาร (Food Waste) แล้ว การแยกขยะก่อนทิ้งยังช่วยรักษ์โลกของเราได้อีกด้วย จากการสำรวจพบว่ามีขยะมูลฝอยในประเทศจำนวนประมาณ 26 ล้านตัน อีกทั้งปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมีมากถึง 28% ที่ไม่สามารถนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีได้ ในบทความนี้ DKW อยากมาแชร์ให้ทุกคนช่วยกันแยกขยะก่อนนำไปทิ้งในถังใส่ขยะแยะประเภท โดยถังขยะแต่ละสีสามารถทิ้งขยะได้ ดังนี้

  • ถังขยะสีเขียว สำหรับขยะเปียก และขยะอินทรีย์

ขยะเปียก หรือขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่าย คือ ขยะที่เน่าเสีย และย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาใช้หมักปุ๋ยได้ ไม่ว่าจะเป็น เศษอาหาร เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ รวมไปถึงใบไม้ เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ จากนั้นนำขยะทิ้งลงถังใส่ขยะแยกประเภทสีเขียว โดยข้อดีของการแยกขยะเปียก คือ นำไปใช้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใส่ต้นไม้ หรือทำแปลงผักสวนครัวได้

  • ถังขยะสีเหลือง สำหรับขยะรีไซเคิล

ขยะรีไซเคิล คือ วัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ไม่ว่าจะเป็น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ขวดแก้ว ขวดกระป๋อง กล่องกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถแยกขยะแต่ละชนิดไว้ด้วยกันได้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการขยะมากขึ้น หรือจะแยกแล้วนำไปขายตามจุดรับซื้อถือเป็นการเพิ่มมูลค่า ทั้งยังเป็นการจัดการขยะได้เหมาะสม โดยข้อดีของการแยกขยะรีไซเคิล คือ นำไปใช้ผลิตขาเทียม ผลิตหลังคารีไซเคิล ผลิตหลอดไฟ และจีวรพระสงฆ์ เป็นต้น

  • ถังขยะสีน้ำเงิน สำหรับขยะทั่วไป

ขยะทั่วไป คือ ขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ หรือย่อยสลายได้ยาก แต่ไม่อันตราย และไม่คุ้มค่ากับการนำไปรีไซเคิล เนื่องจาก เป็นขยะที่ย่อยสลายยากจึงต้องจัดการอย่างถูกวิธี โดยสามารถทำได้เหมือนขยะรีไรเคิล เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก ภาชนะปนเปื้อนอาหาร ซึ่งประโยชน์จากการแยกขยะทั่วไป คือ นำไปผ่านเทคโนโลยีการผลิต เพื่อนำกลับไปใช้ทำวัสดุใหม่

  • ถังขยะสีแดง สำหรับขยะอันตราย

ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีส่วนประกอบ หรือปนเปื้อนของวัตถุอันตราย อาทิ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกดิไซด์ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพันธุกรรม ไม่ว่าจะเป็น เคมีภัณฑ์ หรือสิ่งที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งประโยชน์ของการแยกขยะอันตราย คือ สามารถนำขยะที่แยกไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการรั่วซึมลงแหล่งน้ำ และชั้นผิวดิน

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมา คือ หนึ่งในวิธีลด Food Waste ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การบริหารจัดการก่อนซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร ไปจนถึงการแยกขยะให้ถูกประเภท เพื่อจัดการขยะอาหารที่เหลือใช้ ซึ่งถือเป็นการลดขยะอาหารที่ยั่งยืน และสามารถเริ่มได้ตั้งแค่ตัวคุณนั่นเอง หากสนใจถังขยะแยกประเภท หรือถังใส่ขยะพลาสติก สไตล์มินิมอล ที่วางได้ทุกมุมของบ้านโดยไม่ทำให้หลุดธีม สามารถเลือกดูสินค้าต่าง ๆ ผ่านช่องทางด้านล่างได้

#DKWRE. รักษ์โลกช้อป DKW 𝑹𝒆𝒅𝒖𝒄𝒆 เม็ดพลาสติกใหม่ 𝑹𝒆𝒄𝒚𝒄𝒍𝒆 พลาสติกเก่า 𝑹𝒆𝒖𝒔𝒆 สินค้ามาใช้ประโยชน์อื่นๆ

“The synergy of function and design” – DKW

DKW แบรนด์สินค้าส่งออกทั่วโลก ดีไซน์เรียบง่ายแต่มีเอกลักษณ์ คุณภาพดีเกินราคา มีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ, บุญถาวร, The Mall ทั่วประเทศ

Line Official: @dkwofficial

Website: dkwthailand.com

Facebook: DKW Lifestyle For Home

Instagram: DKW_Lifestyle

TikTok: @dkw.official

เรื่องที่เกี่ยวข้อง